วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผู้ก่อตั้งโรงเรียน

    ความเป็นมหาวชิราวุธยิ่งใหญ่เกรียงไกรมามากกว่า 100 ปี และยังคงอยู่ในสายเลือดสืบสายกันมารุ่นต่อรุ่น แต่จะมีใครสักกี่คนกันเล่าที่ยังจดจำเรื่องราวประวัติความเป็นมา และรู้ว่าผู้ให้กำเนิดโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา คือใคร...   

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)



มหาอำมาตย์นายก
เจ้าพระยายมราช  (ปั้น  สุขุม)

ภูมิกำเนิด
       มหาอำมาตย์นายก  เจ้าพระยายมราช  (ปั้น สุขุม)  เป็นชาวตำบลบ้านน้ำตก 
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  เกิดวันที่  15  กรกฎาคม  2405  บิดาชื่อกลั่น  มารดาชื่อผึ้ง  มีพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกัน  5  คน  


การศึกษาเล่าเรียน  
       พ.ศ.2411  ขณะอายุ  6  ขวบ  ได้ติดตามพระใบฎีกาอ่วม  ไปอยู่วัดหงส์รัตนารามธนบุรี 
และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ
       พ.ศ.2418 อุปสมบทเป็นพระภิกษุศึกษาภาษาไทย  และภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
       พ.ศ.2426  ลาสิกขาบทแล้วเข้ารับราชการเป็นครูสอนภาษาไทย 
ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โดยคำแนะนำของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ


ราชทินนาม  ตำแหน่งและยศ
       พ.ศ.2427  เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรไทยแด่  กรมพระจันทบุรีนฤนาท 
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  กรมหลวงปราจิณกิติบดี  กรมหลวงนครชัยศรีสุรเดช
 และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
       พ.ศ.2429  ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น  “ ขุนวิจิตรวรสาส์น ”  ตำแหน่งอาลักษณ์
ติดตามไปถวายพระอักษรแด่พระโอรสทั้ง  4  พระองค์  ณ ประเทศอังกฤษ
       พ.ศ.2434  ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขานุการในสถานทูตชั้น 1  และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
เป็น  “พระวิจิตรวรสาส์น”
       พ.ศ.2436  ได้เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรไทยแด่  เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  ณ ประเทศอังกฤษ
       พ.ศ.2438  ได้เป็นข้าหลวงพิเศษตรวจการมหาดไทยที่เมืองสงขลา  และนครศรีธรรมราช
เพื่อเตรียมการจัดตั้งเป็นมณฑล
       พ.ศ.2439  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ  เสด็จเมืองสงขลาเห็นว่าเป็นเมืองที่เจริญขึ้นมาก
 เพราะการบริหารงานของพระวิจิตรวรสาส์น  จึงทรงประกาศตั้งเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช  
และทรงเลื่อนบรรดาศักดิ์พระวิจิตรวรสาส์นขึ้นเป็น  “พระยาสุขุมนัยวินิต”  ตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
       พ.ศ.2451  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  “เจ้าพระยายมราช”
       พ.ศ.2460  หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 1  ยุติลง  ได้รับพระราชทานยศเป็น  “มหาอำมาตย์นายก”  
ซึ่งเทียบเท่าจอมพลทหาร
       พ.ศ.2470  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ  ให้เป็นองคมนตรี
       พ.ศ.2477  สภาผู้แทนราษฎรลงมติแต่งตั้งให้เจ้าพระยายมราชสำเร็จราชการแทนพระองค์
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนี้มาจนถึงแก่อสัญกรรม
เมื่อวันที่  30  ธันวาคม

**ศึกษาประวัติเพิ่มเติม  พระยายมราช(ปั้น สุขุม)


วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระยาวิเชียรคิรี (ชม ณ สงขลา)


พระยาวิเชียรคิรี
(ชม  ณ สงขลา)
ภูมิกำเนิด
       พระยาวิเชียรคิรี  (ชม  ณ สงขลา)  เป็นเจ้าเมืองสงขลาในตระกูล  ณ สงขลา  คนสุดท้าย 
(คนที่ 8)  เกิดที่ตำบลบ้านป่าหมาก  เมืองสงขลา  เมื่อวันที่  4  มีนาคม  2397 
เป็นบุตรคนโตของพระยาสุนทรานุรักษ์  (เนตร์)  ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลากับคุณหญิงพับ 
และเป็นหลานชายคนโตของเจ้าพระยาวิเชียรคิรี  (เม่น)  ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา  ในตระกูล
ณ สงขลา  คนที่ 6



การศึกษาเล่าเรียน
       เริ่มเรียนหนังสือไทยกับเจ้าพระยาวิเชียรคิรี  (เม่น)  ผู้เป็นปู่  วิชาช่างไม้  วิชาการยิงปืน
กับพระยาหนองจิก  (เวียง)  วิชาโหราศาสตร์กับคุณหญิงพับ  สุนทรานุรักษ์  (มารดา)  วิชาแพทย์
กับหมอทิมชาวกรุงเทพฯ
และท่านเจ้าวัดโปรดเกษ  วิชาการเดินเรือกับกัปตันวรดิกสกี  วิชาการถ่ายรูปกับหลวงอรรคนีนฤมิตร 
มิสเตอร์ลำเบิก  และมิสเตอร์เนาต้า  และวิชาช่างเหล็ก  ช่างทอง  วิชาการทำแผนที่  จนตั้งโรงงานไว้ในบ้านมีเครื่องจักรกลหลายอย่าง  รวมทั้งโรงพิมพ์  ห้องถ่ายภาพเป็นของตนเอง  ชอบการช่างฝีมือทำสิ่งของ
และเครื่องใช้  เครื่องประดับต่างๆ  ทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ถวายเจ้านาย  แจกข้าราชบริพาร  มิตรสหายเป็นที่ระลึก



การรับราชการ
       พ.ศ.2413  รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์  เป็นหลวงวิเศษภักดี  ดำรงตำแหน่ง
"ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา"  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

       พ.ศ.2431  โปรดเกล้าฯ  เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  “พระยาสุนทรานุรักษ์”  ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา  รักษาราชการเมืองสงขลา  เนื่องจากพระยาวิเชียรคิรี  (ชุ่ม)  ถึงแก่อสัญกรรม
       พ.ศ.2433  เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  “พระยาวิเชียรคิรี  ศรีสมุทวิสุทธิ์ศักดามหาพิไชยสงคราม
รามภักดีอภัยพิริยะบรากรมพาหุ”  ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา

       พ.ศ.2444  โปรดเกล้าฯ  ให้เป็นจางวางกำกับราชการเมืองสงขลา  รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ  และเป็นแม่กองสร้างถนนตั้งแต่หน้าศาลาว่าการมณฑลไปถึงแหลมทรายชายทะเลยาวประมาณ 50 เส้น  โปรดเกล้าฯพระราชทานนามถนนว่า  “ถนนวิเชียรชม”  ท่านถึงแก่อสัญกรรม
เมื่อวันที่  4  กรกฎาคม  พ.ศ.2447  รวมอายุได้  50  ปี



**ศึกษาประวัติเพิ่มเติมได้ที่  พระยาวิเชียรคีรี(ชม ณ สงขลา)

.